โรงเรียนบ้านท่านุ่น

หมู่ที่ 7 บ้านบ้านท่านุ่น ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 82140

328915563_1135610530470997_6578610682339984168_n

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1082330102-20130707-180912

นางสาวกันยารักษ์ เดชทัพ
ผู้อำนวยการโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านท่านุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงาตั้งขึ้นครั้งแรกโดยราษฎร พ่อค้า เสมียนพนักงาน ช่วยออกเงินตามคำชักชวนของนายอำเภอธรรมการอำเภอ ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2476 โรงเรียนนี้ทรงตัวมาได้นาน 1 ปีเศษ โดยใช้สถานที่เก็บของ(กุดัง) ของนายจิ้นเอ้ง ทองตัน เป็นผู้มอบให้เป็นสถานที่เล่าเรียน ก่อนจากนี้หลักฐานไม่ปรากฏ

ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2476 รัฐบาลได้อนุมัติให้เป็นโรงเรียนประชาบาล โดยเงินบำรุงรัฐบาล
ครั้งแรกมีชื่อว่า โรงเรียนบ้านท่านุ่น มีนายสนิท จินดาพล เป็นครูใหญ่ มีครูช่วยสอนอีก 1 คน นักเรียนทั้งหมด 51 คน เปิดสอน 2 ชั้นเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2

ต่อมาเดือนมีนาคม 2477 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประชาบาลตำบลโคกกลอย(บ้านท่านุ่น)
เดือนมกราคม 2494 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบ้านท่านุ่น ตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2480 ได้ทำการปลูกสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ตามแบบ ป.1 ขนาด 6.5 x 12.00 เมตร พื้นซีเมนต์ฝากั้นไม้กระดาน หลังคามุงจาก ได้รับเงินงบประมาณ 500 บาท ปลูกสร้างในที่ดินของหมื่นศรี รัฐกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 เป็นผู้บริจาคที่ดินเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่เศษตามคำบอกเล่าของผู้ที่เชื่อถือได้แต่ปรากฏในทะเบียนพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้มี 4 ไร่เศษเท่านั้น การเป็นมาถึงปัจจุบันมีอาณาเขตยาว 133 เมตร กว้าง 177 เมตร คิดเป็นเนื้อที่ 15,5561 ตารางเมตรตามหลักฐานเนื้อที่ 4 ไร่เศษนั้นคงเป็นที่ดินติดต่อสวนมะพร้าวของนายจิ้นเอ้ง ทองตัน ติดต่อกับหมู่รักษาการท่านุ่น โดยปรากฏว่านายจิ้นเอ้ง ทองตันเป็นผู้มอบให้การทางรถไฟสายสุราษฎร์-ภูเก็ต ได้เวนคืนเป็นที่ของกรมรถไฟแล้ว
การก่อสร้างได้เสร็จเรียบร้อยและเปิดเรียนทำการฉลองเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2481
เดือนพฤศจิกายน 2498 ได้งบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ก 3 ห้องเรียนครึ่ง จำนวน 1 หลัง มีขนาดกว้าง 9 x 28 เมตร เสาคอนกรีตหลังคามุงสังกะสีพื้นดินไม่มีฝากั้น ทางอำเภอจัดการประมูลในวงเงินงบประมาณ 30,000 บาท ส่วนอาคารหลังเดิม อาศัยเรียนอยู่แต่ต้องค้ำยันไว้เพราะชำรุด
ต่อมาพ.ศ.2499 ได้งบประมาณ 16,000 บาท กับเงินสมทบทุนส่วนโรงเรียน 7,000 บาท ได้สมทบสร้างต่อเติมด้านหน้ากั้นลูกกรุง หล่อคอนกรีตสูง 1 เมตร รวม 4 ต้น ตอนบนกั้นฝาใช้ไม้กระดานยังขาดบานประตูและหน้าต่างกั้นห้องเรียนทางอำเภอเป็นผู้ให้ประมูล

วิสัยทัศน์โรงเรียน

พัฒนาผู้เรียน ด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรมโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พันธกิจ

ส่งเสริมและพัฒนา ดนตรี กีฬา ปลอดยาเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม เทคโนโลยี อนุรักษ์วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม พัฒนาศักยภาพครู บริหารจัดการอย่างเป็นระบบให้มีประสิทธิภาพ